cricouncil Environment ผู้ผลิตไฟฟ้า กับขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้า

ผู้ผลิตไฟฟ้า กับขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้า

ผู้ผลิตไฟฟ้า

ทราบหรือไม่ว่าการผลิตไฟฟ้าปัจจุบันนี้ไม่ได้มีแค่การไฟฟ้า หรือ กฟผ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ปล่อยให้เราได้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน จะมีกลุ่มไหนบ้างวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเหล่านี้กัน 

ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่น่าสนใจ 

จากสถิติการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่อดีต ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ทำให้การไฟฟ้า กฟผ. เองผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ จึงมีการวางแผนเปิดรับซื้อ-ขายกับภาคเอกชน จากการคาดกาณ์ในความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ทำให้มีการเปิดคัดสรรผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รายเล็ก (SPP) และรายเล็กมาก (VSPP) ตามสัดส่วนการผลิตทำสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าที่จะตกลงกัน จากทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ 

1.บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (IPP) 

เอกชนรายใหญ่ (INDEPENDENT POWER PRODUCER) มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตมากกว่า 90 เมกกะวัตต์ให้กับ กฟผ. ที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. ในช่วงปี 2558-2567 ไว้เป็นจำนวน 7 โครงการ รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 8,070 เมกะวัตต์  

2. ผู้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายเล็ก (SPP 

ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SMALL POWER PRODUCER) กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้ที่ประมาณ  10-90 เมกะวัตต์ ซึ่งในช่วงปี 2558-2568 กำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จำนวน 97 โครงการ รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 5,922 เมกะวัตต์  

3. บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายเล็กมาก  (VSP 

ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก  VERY SMALL POWER PRODUCER) ในช่วงปี 2558-2579 กำลังผลิตไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 9,735.6 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ใช้อ้างอิงจาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579  

ลักษณะการทำงานของกิจการไฟฟ้าของประเทศไทย 

โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยใช้รูปแบบ ENHANCED SINGLEBUYER (ESB) ซึ่งกำหนดให้ กฟผ.ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต ส่งและรับซื้อไฟฟ้าแต่เพียงรายเดียว รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (SYSTEME OPERATOR) ที่สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ควบคุมการผลิตและส่งไฟฟ้าทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  

ขณะเดียวกัน ยังมีการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนมาร่วมลงทุน ทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ไปจนถึงกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก เพื่อรับซื้อพลังงานทดแทน และทั้งหมดนี้ก็คือกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า ที่แยกตามขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า กฟผ. ให้บริการประชาชนทั่วประเทศนั่นเอง 

นี่คือกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าที่เป็นหน่วยงานเอกชนที่ทางภาครัฐ ภาครัฐเปิดให้เข้ามาร่วมลงทุนผลิตไฟฟ้าบริการให้กับทุกคนนั้นจะส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การซื้อพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในประเทศร่วมกับพลังไฟฟ้าที่ กฟผ. ภายใต้การดูแลของภาครัฐ เพื่อให้บริการประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูกนั่นเอง

Related Post

ธุรกิจพลังงาน

ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจพลังงาน

ในปัจจุบันมีธุรกิจพลังงานเกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของการประกอบกิจการต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในภาคครัวเรือน ที่ต้องมีการใช้สอยพลังงานในการดำรงชีวิต แต่ในภาคของครัวเรือนนั้นมักจะมีความต้องการที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับความต้องการพลังงานในภาคของการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งการทำธุรกิจนั้นต้องมีผลประกอบการและผลกำไรมาเป็นตัวขับเคลื่อน การดำเนินธุรกิจจึงมีความต้องการอย่างไม่หยุดหย่อน  ทำให้มีธุรกิจพลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยเรื่อยในสังคม โดยเฉพาะในประเทศของเราซึ่งผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานในด้านนี้มักจะมีการรวบรวมพลังงานจากพลังงานธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อหมุนเวียนให้อยู่ในรูปของพลังงานที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลมและพลังงานอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าพลังงานเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนพลังงานที่ไม่เหมือนกันทางผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจพลังงานจะต้องมีการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นสถานที่ในการวางรากฐานการผลิตพลังงาน   การก่อตั้งธุรกิจพลังงาน  เครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ ที่จะต้องมีความคงทนระดับสูงที่สุด เนื่องจากพลังงานในธรรมชาตินั้นเป็นพลังงานที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณหรือความเร็ว รวมทั้งอุณหภูมิของพลังงานธรรมชาติที่จะเข้ามาแปรเปลี่ยนพลังงานในเครื่องจักรที่เตรียมไว้ได้ ดังนั้นเครื่องจักรเหล่านี้จึงต้องมีความคงทนและสามารถทำงานได้ภายใต้สภาวะที่รุนแรงหรือในสภาวะที่อันตรายได้ โดยไม่ต้องหยุดพัก ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่าพลังงานก็จะต้องมีความแม่นยำสูง เมื่อวัดค่าที่ได้หรือพลังงานที่ได้จากการแปรเปลี่ยนพลังงาน และจะต้องมีความผิดพลาดทางเทคนิคที่น้อยที่สุด  ซึ่งต้องมีทีมวิศวกรหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุมดูแลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อลดโอกาสความผิดพลาดในกระบวนการทำธุรกิจพลังงานเหล่านี้ มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะเลือกรูปแบบของพลังงานในรูปแบบใด โดยอาศัยความรู้และความสามารถของทีมงานและบุคลากรอย่างเต็มที่ เพื่อสามารถวิเคราะห์ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จะได้รับมากที่สุดที่ทางบริษัทหรือธุรกิจนั้นจะสามารถทำได้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการก่อตั้งธุรกิจพลังงาน   ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตพลังงานไว้ใช้ในกระบวนการผลิตของตนเองหรือเพื่อการจำหน่ายให้กับบริษัทคู่ค้าหรือบริษัทที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนกระบวนการก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น เนื่องจากกระบวนการแปรเปลี่ยนพลังงานในรูปแบบนี้นั้นไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วยทำใด ๆ เป็นการปล่อยให้พลังงานธรรมชาติหมุนผ่านเครื่องที่จะกักเก็บพลังงานเอาไว้โดยดำเนินกระบวนการไปอย่างปกติเป็นธรรมชาติ ทำให้เราผู้ประกอบการรอติดตามเพียงแค่ผลลัพธ์หรือค่าพลังงานไฟฟ้าที่แปลเปลี่ยนออกมาได้เท่านั้น ซึ่งต้องคอยมีนักตรวจสอบหรือประเมินเข้ามามีบทบาทสำคัญในจุดนี้เพื่อช่วยตรวจเช็คว่าอุปกรณ์ใดได้รับความเสียหายหรือมีประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำลง เพื่อที่จะได้เข้าไปแก้ไขให้กลับมาทำงานได้อย่างเต็ม 100% 

โรงไฟฟ้า

แนะนำ 3 ประเภท โรงไฟฟ้า ที่ต้องทำความรู้จักแนะนำ 3 ประเภท โรงไฟฟ้า ที่ต้องทำความรู้จัก

การผลิตถ่านหินในอินเดีย เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซมากเป็นอันดับ 3 ลดลง 8% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยพลังงานนิวเคลียร์ พลังงานถ่านหิน และพลังงานลม เป็นเพียงพลังงาน 3 ประเภทที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใน โรงไฟฟ้า ทั่วโลก  แต่หลาย ๆ ประเทศกำลังเดินหน้าเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการใช้ผลิตไฟฟ้า ที่ก่อมลพิษสูงไปสู่ทางเลือกที่มีคาร์บอนต่ำ ที่ดีต่อโลกมากกว่า ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแนะนำ 3 ประเภท โรงไฟฟ้า ที่ต้องทำความรู้จักกัน ซึ่งมาจากการใช้พลังงานของโลกยุคเก่า   โรงไฟฟ้า ใช้พลังงานของโลกยุคเก่า